Application Process / ขั้นตอนการดำเนินการ

 

ผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยที่ต้องการจะขอรับใบอนุญาตทำงานก่อนที่จะเริ่มงาน การออกใบอนุญาตนั้นจะออกได้เมื่อคนต่างด้าวนั้นอยู่ที่ประเทศไทย การเดินเช้ามาในประเทศนั้นต้องเป็นไปตามข้อบังคับของสำนักงานตรวจคนเข้า เมือง ดังนั้นใบอนุญาตทำงานจะต้องประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอนคือ

Work Permit Application

1. การได้มาซึ่งวีซ่า

ก่อนที่จะชาวต่างชาติจะสามารถทำงานในประเทศไทย จะต้องมีการเดินทางเข้าประเทศก่อน ผู้ที่ไม่ใช่สัญชาติไทยและต้องการที่จะยืดเวลาในการอยู่ในประเทศไทยและต้อง การกลับมาในประเทศไทยเพื่อทำงานจะต้องขอวีซ่าอยู่อาศัยเพียงชั่วคราวประเภท B ธุรกิจ วีซ่าประเภทที่ต้องกล่าวถึงนั้นจะต้องขอจากกรมการกงสุลของประเทศไทยหรือสถาน ทูต ผู้ว่าจ้างจะต้องทำหนังสือเชิญผู้รับจ้างก่อน วีซ่าประเภทอยู่ชั่วคราว ประเภทB ธุรกิจนั้น ผู้ถือสามารถอยู่ในประเทศสูงสุด90วัน และสามารถยืดเวลาได้1ครั้ง สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับ วีซ่าคนอยู่ชั่วคราว ประเภท B ธุรกิจ 

2. การได้มาซึ่งใบอนุญาตทำงาน

เมื่อได้มีการเข้าเมืองโดยถูกกฎหมายแล้ว เอกสาร ที่จะต้องใช้ในการขอนั้นสามารถยื่นได้ต่อกระทรวงแรงงาน เอกสารนั้นจะต้องจัดทำโดยผู้รับจ้างหรือผู้ว่าจ้างในนามของผู้รับจ้าง การมารับใบอนุญาตทำงาน ลูกจ้างต้องเป็นผู้มารับด้วยตนเอง

  • เอกสารนั้นต้องส่งไปให้แผนกแรงงานที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทนั้นตั้งอยู่ เอกสารที่ต้องจัดเตรียม ได้แก่
    • เอกสารของผู้รับจ้าง (ลูกจ้าง)รูปถ่ายขนาด 3×4 เซนติเมตรของผู้ยื่นขอ แบบเป็นทางการและถ่ายไม่เกิน6เดือน
      • สำเนาหนังสือเดินทางที่มีลายมือชื่อรับรองแล้ว
      • หน้าข้อมูลส่วนตัว
      • บัตรขาออกและขาเข้า
      • วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท B ธุรกิจ (สำหรับผู้อยู่อาศัยชั่วคราว)
      • ใบอนุญาตอยู่อาศัยและหนังสือรับรองคนต่างด้าว (สำหรับผู้อยู่อาศัยถาวร)
    • ประวัติส่วนตัวใบแจ้งกรุ๊ปเลือดและใบรับรองแพทย์ยืนยันว่าสุขภาพและสุขภาพจิตอยู่ในระดับปกติ
      • ประวัติส่วนตัวที่แสดงให้เห็นผู้ว่าจ้างเก่า สถานที่ทำงานและระยะเวลาในการทำ
      • จดหมายแนะนำจากเจ้านายเก่า
      • ใบประกาศนียบัตรต่างๆและใบอนุญาตต่างๆ (เช่น ใบอนุญาตทางการแพทย์เป็นต้น)
    • หากผู้ยื่นขอแต่งงานกับคนไทย จะต้องมีสำเนาของทะเบียนสมรส ,สำเนาบัตรประชาชนของคู่สมรสและสำเนาทะเบียนบ้าน
  • เอกสารที่ผู้ว่าจ้าง(นายจ้าง)ต้องจัดเตรียม
    • ใบจดทะเบียนพาณิชย์
    • ใบจดทะเบียนนิติบุคคล
    • วัตถุประสงค์ของนิติบุคคล
    • ทุนจดทะเบียน
    • รายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
    • บัตรภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 20)
    • เอกสารการขอใบอนุญาตใบอนุญาตโรงงาน (ถ้ามี)
      • แบบการกรอกที่ได้รับการกรอกแล้ว
      • การบรรยายเกี่ยวหน้าที่การงาน ชี้ให้เห็นทักษะที่คนไทยไม่สามารถทำได้
      • แผนที่สำนักงาน
      • คำอธิบายว่าเหตุใดจึงไม่จ้างคนไทย
    • สำหรับการฟื้นฟู : ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด 1)

ผู้ว่าจ้างทุกคนที่จัดเตรียมเอกสารจะต้องมีตราประทับของบริษัทในเอกสาร ทุกฉบับและกรรมการจะต้องลงนามรับรองในสำเนาทุกฉบับ เอกสารที่เป็นทางการต้องไม่เก่ากว่า 3 เดือน ใบอนุญาตทำงานธรรมดาจะมีอายุการใช้งาน 1ปีและสำหรับอาชีพพิเศษหรืออาชีพที่ต้องใช้ทักษะพิเศษจะมีอายุการใช้งาน2ปี ขึ้นไป และโดยปกติแล้ววีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราวประเภท B ธุรกิจนั้นจะมีอายุการใช้งาน 90 วัน ดังนั้นผู้ถือจะต้องขอยืดเวลาก่อนที่ใบอนุญาตจะหมดอายุ

ค่าธรรมเนียมในการยื่นขอ

รายการต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงค่าธรรมเนียมแบบคร่าวๆ ซึ่งค่าธรรมเนียมนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าว :

ค่ายื่นเอกสาร : 100 บาท

  • การออกค่าทดแทนค่าธรรมเนียม : 750 บาท
    • อายุการใช้งาน 3 เดือน : 750 บาท
    • อายุการใข้งานมากกว่า 3 เดือนแต่ไม่เกิน 6 เดือน : 1,500 บาท
    • อายุการใข้งานมากกว่า 6 เดือนแต่ไม่เกิน 12 เดือน : 3,000 บาท
    • อายการใช้งานมากกว่า 12 เดือน : 3,000 บาทและส่วนเกินภายใน 1 ปี
  • เปลี่ยนหรือเพิ่มงาน : 1,000 บาท
  • เปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้าง : 3,000 บาท
  • เปลี่ยนหรือเพิ่มที่ทำงาน : 1,000 บาท
  • เปลี่ยนหรือเพิ่มเงื่อนไข : 150 บาท

ข้อบังคับพิเศษสำหรับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI

บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะ สามารถใช้สิทธิได้ตามที่กำหนดไว้ โดยบริษัทนั้นจะได้รับการยกเว้นเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนและอัตราส่วนของลูกจ้า งำทยและต่างด้าว ขั้นตอนในการได้มาซึ่งใบอนุญาตทำงานนั้นจึงแตกต่างจากขั้นตอนปกติ ใน 2 ลักษณะคือ ลูกจ้างจะต้องเข้ามาในประเทศโดยใช้วีซ่าอาศัยชั่วคราวประเภท B ธุรกิจ และการออกใบอนุญาตทำงานนั้นจะออกภายใต้อำนาจของ BOI

Work Permit Application

1. การอนุมัติตำแหน่ง

บริษัทไทยต้องยื่นใบคำขอสำหรับการจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและช่าง เทคนิคไปต่างประเทศและหน่วยบริการผู้เชี่ยวชาญ และจำเป็นที่บริษัทของนายจ้างต้องได้รับการส่งเสริมจากภายใต้พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการลงทุน (เช่น บริษัท ส่งเสริม BOI) ใบสมัครจะต้องมีคำอธิบายของวัตถุประสงค์ของบริษัทและคำอธิบายว่าทำไมต้อง จ้างลูกจ้างต่างชาติ รวมทั้งจำนวนโดยรวมของผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและช่างเทคนิคที่ต้องการ เช่นเดียวกับที่ระยะเวลาตามแผนของการจ้างงาน เอกสารต่อไปนี้จะต้องมีการส่งไปยังต่างประเทศและหน่วยบริการผู้เชี่ยวชาญ บริษัทในประเทศไทยต้องส่งคำขอให้ :

  • ใบคำขอเพื่อว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญและช่างเทคนิคต่างประเทศ (FFRNI 01)
  • แผนผังการบริหารของบริษัท : แสดงให้เห็นถึงภาพรวม ความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่งโดยเฉพาะตำแหน่งที่ต้องให้ได้รับการอนุมัติ (หรือได้รับการอนุมัติแล้ว)
  • ข้อมูลการว่าจ้าง จากประกาศนียบัตรส่งเสริมการลงทุน (FFRNI 02)ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (ถ้าจำเป็น)
    • ตำแหน่งงานเป็นภาษาอังกฤษ
    • รายละเอียดของงาน
    • ความต้องการงาน
    • ระยะเวลาและแผนการจ้างงาน
  • เอกสารการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
  • รายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ. 5)
  • งบดุลและงบกำไรขาดทุน (ถ้าไม่มีจดหมายชี้แจงเป็นสิ่งจำเป็น)

เอกสารทั้งหมดต้องลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจและประทับตราสำคัญของบริษัท ที่ติดอยู่ เมื่อใบได้ยื่นใบคำขอเรียบร้อยแล้วซึ่งอาจจะได้รับการอนุมัติหรือไม่ได้รับ ก็ได้ อย่างไรก็ตามจะมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กับบริษัท และถ้าตำแหน่งได้รับการอนุมัติบริษัท อาจดำเนินการต่อไปเกี่ยวกับการแต่งตั้งพนักงาน

2. การนัดเจอกับลูกจ้าง

ขั้นตอนที่สอง บริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน ต้องยื่นคำขอที่ต้องการต่อหน่วยบริการผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ในการนำผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศหรือช่างเทคนิคเข้ามาทำงานสำหรับตำแหน่งที่ ได้รับการอนุมัติ และประวัติของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศหรือช่างเทคนิคต้องตอบรับกับตำแหน่งที่ ได้รับการอนุมัติด้วย สำหรับการแต่งตั้งพนักงานเอกสารต่อไปนี้จำเป็นต้องใช้:

  • จดหมายของบริษัท ประกอบไปด้วย
    • การระบุตำแหน่งที่ต้องการ (การอ้างอิงต้องมาจากตำแหน่งที่ได้รับการอนุมัติแล้ว)
    • ประวัติส่วนตัวเกี่ยวกับบุคคลที่จะมาทำงานในตำแหน่งนั้น
  • ข้อมูลส่วนตัว (FFTNI03) ประกอบด้วยประกาศนียบัตรด้านการศึกษาสำเนาหนังสือเดินทาง
    • ประวัติการศึกษา
    • สาขาในการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่จะทำ
    • ประวัติการทำงาน
  • รูปถ่าย (3×4 เซนติเมตร) สำหรับผู้ยื่นขอหนังสืออนุมัติตำแหน่งที่ได้รับตามขั้นตอนที่ 1
    • ข้อมูลส่วนตัว
    • บัตรขาเข้า-ขาออกประเทศ
    • วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท B ธุรกิจ (สำหรับผู้อยู่อาศัยชั่วคราว)
    • ใบอนุญาตอยู่อาศัยและหนังสือรับรองคนต่างด้าว (สำหรับผู้อยู่อาศัยถาวร)

เอกสารทั้งหมดต้องลงนามโดยกรรมการผู้มี อำนาจและประทับตราสำคัญของ บริษัทที่ติดอยู่ จดหมายจะได้รับการพิจารณาโดยหน่วยบริการผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศซึ่งอาจจะได้ รับการอนุมัติหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ตามจะมีจดหมายแจ้งไปยังบริษัท หากเอกสารได้รับการอนุมัติ จะมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่สำนักตรวจคนเข้าเมืองและกรมการจัดหางาน บริษัทจะติดต่อสำนักตรวจคนเข้าเมืองและกรมการจัดหางานภายใน30วันสำหรับการยื่นขอใบอนุญาตทำงานและการขยายวีซ่าสำหรับพนักงาน

Visitors: 367,775